Pulo separatist gets life sentence

The Appeals Court on Wednesday sentenced a member of the Patani United Liberation Organisation (Pulo), a separatist movement, to life in prison, reversing the Criminal Court’s decision to drop all charges against him.

Prosecutors indicted Koseng, or Useng, Cheloh, a Pulo member, on charges of rebellion and illegal assembly of    weapons and men to conduct terrorist activities with the aim being to separate five southern border provinces from the kingdom.

The court was told that between 1968 and Feb 10, 1998 Koseng and other Pulo members had recruited Muslim people into the separatist movement, extorted protection money from businessmen in the five southern border provinces and used the money to set up armed units to conduct terrorist activities, including attacks on government installations, destroying rail tracks with bombs and burning down bridges and schools, causing extensive damage and a large number of casualties.

The Criminal Court on Dec 1, 2008 dismissed the case against Koseng on the grounds that evidence against him was doubtful. The state appealed.

The Appeals Court today reversed the Criminal Court’s decision and sentenced Koseng to death.

The death sentence was commuted to life on the grounds that his testimony was useful.

On Tuesday morning, eight military rangers and six civilians were wounded by a bomb blast on a road in Narathiwat’s Tak Bai district. An assistant village headman was also shot dead in an ambush at Ban Luemu in Yala’s Krong Pinang district.

On Monday night, three men were shot dead in Pattani’s Kapho district by a group of men weating in military-style camouflage uniforms.

More than 5,000 people have been killed and over 8,400 injured in the three southernmost provinces and four districts of Songkhla since violence erupted in January 2004, according to Deep South Watch, an agency that monitors the conflict in the southern border provinces.

By…bangkokpost

………………………………………………………………………………………………………………………………

 

อุทธรณ์ประหาร”หัวหน้าพลูโลใหม่”แบ่งแยกดินแดน

 

เมื่อเวลา 09.40 น.วันที่ 27 มิ.ย.55 ที่ห้องพิจารณาคดี 814 ศาลอาญา รัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีหมายเลขดำ อ.4748/2549 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายกอเซ็ง หรืออูเซ็ง หรือมะนาเซ หรือชาการิม หรือ ซาการิม เจะเลาะ หรือเจ๊ะเลาะ หรือเจ๊ะเล๊าะ หัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการในเมือง ” ขบวนการพูโลใหม่” เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏเพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร สะสมกำลังพลและอาวุธ สมคบกันเพื่อเป็นกบฏ และสมคบกันเป็นซ่องโจรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 , 114 ,210 ประกอบ มาตรา 83 , 32 , 33
ทั้งนี้ โดยโจทก์ ยื่นฟ้อง ระบุความผิดสรุปว่า เมื่อปี พ.ศ. 2511 – 10 ก.พ.41 จำเลยซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการในเมือง ” ขบวนการพูโลใหม่ ” ได้ร่วมกับ นายหะยี ดาโอ๊ะ ท่าน้ำ ,นายหะยี ฮาเซ็ม อับดุลเลาะห์มาน ,นายอับดุล รอมาน และนายสะมะแอ ท่าน้ำ จและนายยามี มะเซ๊ะ หรือนายยามิง หรือยามี มะเสะ จำเลยที่ 1-5 ในคดีหมายเลขแดง 3666/2545 และ3667/2545 ของศาลอาญา และกับพวกอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง สมคบกันเป็นตัวการ แบ่งแยกหน้าที่กันกระทำการเป็นกบฏ สะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อแบ่งแยกราชอาณาจักร ก่อตั้งองค์การทางการเมืองที่ชื่อว่า ” องค์การปลดแอกแห่งชาติปัตตานี” หรือ “องค์การปลดปล่อยรัฐปัตตานี” หรือ ” องค์การปลดปล่อยสหปัตตานี” หรือ ” PATANI UNITEDLIBERATION ORGANISATION” ใช้อักษรย่อภาษาอังกฤษว่า ” P.U.L.O.” ซึ่งรู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า ” ขบวนการพูโล” โดยการก่อตั้ง มีวัตถุประสงค์แบ่งแยกดินแดน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้แก่ จ.ยะลา , ปัตตานี , นราธิวาส , สตูล และบางส่วนของ จ.สงขลา ใน อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย และ อ.เทพา เพื่อสถาปนาเป็นรัฐอิสระปกครองตนเองในชื่อว่า “สาธารณรัฐอิสลามปัตตานี” หรือ “ประเทศอิสลามมลายูปัตตานี” หรือ ” ประเทศมลายูอิสลามปัตตานี” ซึ่งองค์กรนั้น ได้มีปฏิบัติการข่มขู่กรรโชกทรัพย์เรียกเงินค่าคุ้มครองจากพ่อค้า นักธุรกิจ ในเขตพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อนำเงินจัดซื้ออาวุธปืน ทำการลอบยิงตำรวจ ทหาร ลอบวางระเบิดทางรถไฟ ซุ่มยิงขบวนรถไฟ เผาสะพาน เผาโรงเรียนและจับคนเรียกค่าไถ่ รวมถึงวางระเบิดสถานที่ราชการสำคัญ เช่น ศาลากลางจังหวัด สถานีตำรวจ สถานีรถไฟ วางระเบิดโรงแรม และโรงเรียน เหตุเกิดที่ทุกตำบล ทุกอำเภอของ จ.ยะลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และจ.สตูล และที่อ.จะนะ อ.สะบ้าย้อย อ.เทพา และอ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และประเทศมาเลเซีย เกี่ยวพันกัน ซึ่งขอให้ศาลนับโทษจำเลยคดีนี้ กับโทษคดีอาญาหมายเลขดำที่ 216/2549 , 285/2549 , และ 907/2549 ของศาลจังหวัดปัตตานีด้วย จำเลยให้การปฏิเสธ

คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.51 ให้ยกฟ้องจำเลย แต่ให้ขังจำเลยไว้ในระหว่างอุทธรณ์ และริบของกลาง โดยโจทก์ยื่นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาหารือแล้ว ข้อเท็จจริงที่สองฝ่ายไม่ได้โต้แย้งกัน รับฟังได้ว่า สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกการปกครองรัฐปัตตานี โดยเปลี่ยนเป็นการปกครองแบผู้ว่าราชการจังหวัด ทำให้ผู้มีอำนาจเก่าในปัตตานีรวมตัวเป็นองค์กรใต้ดินเพื่อก่อความไม่สงบ ซึ่งมีขบวนต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มพูโล , บีอาร์เอ็น , มูจาฮีดิน ที่รวมกันเป็น ” ขบวนการเบอร์ซาตู ” เพื่อร่วมปลดแอก รัฐปัตตานี และแบ่งแยก 5 จังหวัดภาคใต้เป็นสหพันธรัฐปัตตานี โดยมีการลอบยิงเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ยอมรับการปกครองของไทย ซึ่งมีเงินสนับสนุนจากต่างประเทศ แต่ต่อมากลุ่มพูโล เกิดความขัดแย้งภายใน จึงแยกตัวออกมาเป็นพูโลใหม่แต่มีแนวทางเดียวกัน กระทั่งปี 2541 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมนายหะยี ดาโอ๊ะ หัวหน้ากลุ่มพูโลใหม่ ในความผิดฐานเป็นกบฏ ซึ่งนายหะยี ได้ซัดทอดว่า นายซาการิม เป็น หัวหน้ากลุ่มในเมือง ของกลุ่มพูโลใหม่ ต่อมาวันที่ 7 ธ.ค.48 จำเลยถูกจับ ตามหมายจับคดีฆ่าผู้อื่น ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นนายซาการิม โดยจำเลยให้การปฏิเสธ

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ พนักงานสอบสวน พยานโจทก์ เบิกความรับฟังได้ว่า ชื่อ ” ซาการิม” เป็นนามแฝงของกลุ่มพูโลใหม่ ซึ่งขบวนการดังกล่าวมีการกำหนดยุทธวิธี ปลุกระดมชาวมุสลิมลอบวางระเบิด เผาสถานที่ราชการ ฆ่าเจ้าหน้าที่ รัฐ จึงทำให้ต้องปกปิดชื่อจริง และทำให้พยานบุคคลไม่กล้าชี้ตัวเพราะเกรงจะถูกทำร้าย นอกจากนี้โจทก์ ยังพยานหลักฐานเกี่ยวกับหน่วยงานข่าวกรองที่มีข้อมูลทางราชการว่า ข้อมูลและหลักฐานภาพถ่ายของนายซาการิม นายกอเซ็ง และจำเลย ที่มีชื่อจริงว่า ” มะนาเซ เจ๊ะเลาะ” มีบทบาทสำคัญในการฝึกและวางแผนก่อการร้าย ซึ่งภาพถ่ายดังกล่าวเป็นบัตรประชาชน ที่มีเลขรหัสตรงกันภาพตามหมายจับ ที่แม้ส่วนสูงของบุคคลในภาพจะต่างกัน แต่อาจเป็นเพราะเกิดจากช่วงวัยที่ยังเติบโตไม่เต็มที่ โดยวันที่จำเลยถูกจับกุมขณะกำลังออกนอกประเทศจำเลยก็ยอมรับว่าเป็นบุคคลตาม หมายจับ เจ้าหน้าที่จึงแจ้งข้อหา จึงเห็นว่า เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการจับกุมตามหน้าที่ โดยไม่มีเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน ประกอบกับเมื่อถูกจับกุมจำเลยได้ลงลายมือชื่อ ทั้งในชื่อ ” มะนาเซ , ซาการิม และกอเซ็ง ” โดยจำเลยรับว่าเป็นผู้ยิงและได้หลบหนีจริง ส่วนที่อ้างว่าถูกบังคับให้ลงชื่อเห็นว่า หากจำเลยรู้ว่าไม่ใช่บุคคลในภาพ ก็ไม่สมควรลงลายมือชื่อ

นอกจากนี้ ทางนำสืบ ที่จำเลยว่าได้ศึกษาต่อ ที่ปรเทศซีเลีย และลิเบีย โดยใช้ชีวิตประเทศมาเลเซียนานถึง 10 ปี จำเลยก็ไม่ได้นำพยานมาเบิกความถึงการดำเนินชีวิตของจำเลยว่าเป็นไปอย่างไร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยกับกลุ่มพวก เป็นพวกหัวรุนแรงทางการเมือง มีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศไทย จึงทำให้จำเลยไม่สามารถนำพยานมาสืบสนับสนุนได้ ข้อต้อสู้จำเลยไม่อาจหักล้างโจทก์ได้ อุทธรณ์โจทก์ฟังขึ้น ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ยกฟ้องนั้น ศาลอุทธรณ์ไม่เห็นพ้องด้วย

ศาลพิพากษาแก้ เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม มาตรา 210 , 114 และ 113 ประกอบมาตรา 83 ให้จำคุก 5 ปี ฐานสมคบกันเป็นซ่องโจร และให้ประหารชีวิต ฐานกระทำการเป็นกบฏ คำให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกฐานซ่องโจร เป็นเวลา 3 ปี 4 เดือน และฐานเป็นกบฏ ให้จำคุกตลอดชีวิต และเมื่อรวมโทษจำคุกแล้วให้จำคุกจำเลยไว้ตลอดชีวิต โดยให้นับโทษ 216/2549 , 285/2549 , 245/2549 และ 907/2549 ของศาลจังหวัดปัตตานีด้วย

ภายหลังฟังคำพิพากษา บุตรสาวและญาติของนายกอเซ็ง ถึงกับร่ำไห้ เสียใจ ขณะที่นายกอเซ็ง ได้พยายามพูดปลอบใจบุตรสาว